7 ข้อชวนรู้ 'วันเด็กแห่งชาติ' เปิดที่มาวันเด็กในไทยและทั่วโลก
12 มี.ค. 2564 | 17:58 เข้าชม 2,362 ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านพ้นช่วงเทศกาลวันปีใหม่ไปไม่ทันไร ก็ใกล้จะถึงวันที่พิเศษอีกวันหนึ่งนั่นคือ “วันเด็กแห่งชาติ” หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร? และมีความสำคัญกับสังคมโลกอย่างไรบ้าง? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
1. วันเด็กมีมานาน 65 ปีแล้ว!
ต้นกำเนิดของ "วันเด็ก" มาจากนโยบายขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่เริ่มจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2498 ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมให้เข้าใจเด็กและเฉลิมฉลองให้แก่เด็กๆ ไม่เพียงเท่านั้นงานวันเด็กยังถูกจัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงต่อเด็กในรูปแบบการถูกทารุณกรรมและการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ จากวัยใสเหล่านี้และเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก ตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีนี้พวกเราก็ได้ฉลองวันเด็กมายาวนานถึง 65 ปีแล้ว
2. ไทยเป็น 1 ใน 40 ประเทศที่มีวันเด็ก
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน 40 กว่าประเทศที่เห็นถึงความสำคัญของเด็ก โดยนายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เสนอให้ประเทศไทยควรจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและความต้องการของเด็ก นอกจากนั้นเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
3. วันเด็กปีแรกในไทย!
งาน "วันเด็กแห่งชาติ" ของประเทศไทยจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2507 เกิดเหตุขัดข้องจนทำให้จัดงานไม่ทัน เนื่องด้วยเป็นช่วงฤดูฝนรวมถึงวันราชการ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่สะดวกพาเด็กๆ เข้าร่วมงานได้ ด้วยเหตุนี้ทางการจึงมีมติเปลี่ยนวันเด็กจากเดิมวันที่ 3 ตุลาคม ไปเป็นวันเสาร์แรกของเดือนมกราคม และเริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ.2508
4. คำขวัญวันเด็กปีแรก
ในปี พ.ศ. 2499 เกิดคำขวัญวันเด็กขึ้นมาจากนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น นั่นคือ "จอมพลป. พิบูลสงคราม" ซึ่งท่านได้มอบคำขวัญในปีแรกไว้ว่า "จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม" เป็นคำขวัญวันเด็กครั้งแรกและครั้งเดียวของจอมพล ป.
5. คำขวัญวันเด็ก ปี 2563
ล่าสุดในปี 2563 เด็กไทยได้รับ "คำขวัญวันเด็ก" จากนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งกล่าวไว้ว่า “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้เน้นย้ำว่าเด็กไทยยุคใหม่ ต้องให้ความสำคัญทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและต้องรู้จักหน้าที่ของความเป็นพลเมืองไทยรับผิดชอบอนาคตประเทศชาติร่วมกัน
ส่วนวันเด็กผู้หญิงจะเรียกว่า Hina-matsuri หรือเทศกาลตุ๊กตา จะมีการประดับตุ๊กตาฮินะบนโต๊ะบูชาที่บ้าน นอกจากนั้นยังมีการทำเค้กข้าวญี่ปุ่น (โมจิ) ทำออกมาเป็นรูปทรงคล้ายเพชรเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลตุ๊กตาอีกด้วย และมีเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เรียกว่า Amazake ใช้ดื่มฉลองและอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุขสุขภาพร่างกายแข็งแรง